| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     ธรรมขันธ์หมายถึงกองธรรมหมวดธรรมประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ ธรรมขันธ์ ความหมายของธรรมขันธ์

     ธรรมนิยามอันได้แก่กฎไตรลักษณ์ทั้ง๓คืออนิจจังทุกขังอนัตตา(ดูที่ธรรมนิยามสุตตัง)คือธาตุทั้งปวงเป็นมีสถานะเป็นกระแสสั่นสะเทือน(คลื่น)ผันผวนไม่แน่นอนสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ้งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดาสัตว์ทั้งปวงย่อมต้องเกิดแก่เจ็บตายทั้งสิ้นเป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายเป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุกฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุดของทุกนิยามกฎนิยามทั้งปวงอยู่ภายใต้กฎข้อนี้เป็นกฎธรรมนิยามนี้ก็ทำให้เกิดนิยามข้ออื่นและนิยามข้ออื่นๆที่สัมพันธ์กันก็ทำให้เกิดกฎธรรมนิยามอันนี้เช่นกันเช่นการจุดไม้ขีดไฟอุตุนิยามทำให้เกิดการเผาไหม้เปลี่ยนแปลงสูญสลายไปธรรมนิยาม ธรรมนิยาม ธรรมนิยาม

     ธรรมเมกขสถูปแปลว่าสถูปผู้เห็นธรรมค่ะ วันอาสาฬหบูชา ธรรมเมกขสถูป ธรรมเมกขสถูป สถูปผู้เห็นธรรม

     ธัมมจักกัปปวัตนสูตรหรือเขียนอย่างภาษามคธว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นปฐมเทศนาเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาวันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน๘เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกคือมีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ครบบริบูรณ์ธัมมจักกัปปวัตนสูตรมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่างคือสบายสุดๆกับทุกข์สุดๆและเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง๔คืออริยมรรคมีองค์๘โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อนเพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวงเพื่อความดับทุกข์อันได้แก่นิพพานซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา

     ธัมมัญญุตาเป็นผู้รู้จักธรรมรู้หลักหรือรู้จักเหตุคือรู้หลักความจริงรู้หลักการรู้หลักเกณฑ์รู้กฎแห่งธรรมดารู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผลและรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผลเช่นภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆคืออะไรมีอะไรบ้างพระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไรมีอะไรบ้างรู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆหรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆจึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆเป็นต้น"ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรมคือสุตตะเคยยะไวยากรณะคาถาอุทานอิติวุตตกะชาตกะอัพภูตธรรมเวทัลละ" ธัมมัญญูสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่๒๓ สัปปุริสธรรม ธัมมัญญู ธัมมัญญู ธัมมัญญู รู้จักธรรม

     ธุดงควัตรหมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี๑๓วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้นและข้อสมาทานปฏิบัติคือ๑ปังสุกูลิกังคะละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่าสมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้วข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน๒เตจีวริตังคะละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน๓ผืนวัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวรในความหมายว่าผ้านุ่งผ้าห่มผ้าคลุมด้วยในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราวคือผ้าที่เป็นผืนๆที่ไม่ได้ตัดเป็นชุดตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น๓ปิณฑปาติกังคะละเว้นรับอดิเรกลาภคือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับสมาทานเที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน๔สปทานจาริปังคะละเว้นการโลเลยึดติดเที่ยวจาริกภิกขาจารเพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยมสมาทานบิณฑบาตรตามลำดับลำดับบ้านไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาตเดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีกคือละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิมถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวันอย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์๑๖กิโลเมตรสมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้านลำดับอายุพรรษาไม่เดินแซงแย่งอาหารซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎกอรรถกถาแต่อย่างใดสามารถทำได้เช่นกัน ธุดงค์ ธุดงควัตร ธุดงค์ ธุดงควัตร วัตรธุดงค์๑

     ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก๑๖ประการ มหาปวารณา อนุมานสูตร อนุมานสูตร อนุมานสูตร ผู้ว่ายาก๑๖ประการ

     ธรรมทานคือการให้ความรู้ทางธรรมเป็นทานเช่นสอนให้ละชั่วประพฤติดีทำใจให้ผ่องใสเรียกว่าธรรมทานการให้ธรรมะเป็นทานนี้ยังถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุดมีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวงเพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันกิเลสสามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้จักจบสิ้นทั้งชาตินี้และชาติต่อๆไปส่วนทานชนิดอื่นๆผู้รับได้รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไปดังพุทธพจน์ที่ว่าสพฺพทานํธมฺมทานํชินาติการให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวงธรรมทาน ธรรมทาน ธรรมทาน ธรรมทาน ให้ความรู้ทางธรรม

     ธรรมยุติกนิกายหรือที่เรียกโดยย่อว่าคณะธรรมยุตเป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยามและแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้นได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนาและการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษาและทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไรแล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อนหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรกต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตามจึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับจนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่งหรือนิกายหนึ่งที่ได้ชื่อในภายหลังว่าธรรมยุติกนิกายหรือที่เรียกสั้นๆว่าธรรมยุตอันมีความหมายว่าผู้ประกอบด้วยธรรมหรือชอบด้วยธรรมหรือยุติตามธรรมทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์(คือคำสั่งสอนของพระศาสดา)แล้วปฏิบัติข้อนั้นเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัยไม่เป็นสัตถุศาสน์แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ(ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์รศ๑๒๑มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกายตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงามศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้งเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎกซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุตได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุตว่ามหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย ธรรมยุติกนิกาย ธรรมยุติ

     ธัญพืชจากแถบถิ่นอเมริกาใต้และอเมริกาใต้เค้าหน่ะอารมณ์ประมาณข้าวหอมมะลิบ้านเรานี่แหละค่ะ ควินัว ควินัว คอหมูย่าง ธัญพืชใต้



๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ