ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
กฐินเป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาทเป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ๓เดือนแล้วสามารถรับมานุ่งห่มได้โดยคำว่าการทอดกฐินหรือการกรานกฐินจัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลาคือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ไปจนถึงวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๒เท่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด๑ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้วกฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วยแต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาทการได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐินด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐินหรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้นและด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้นจัดเป็นสังฆทานคือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติญัตติทุติยกรรมวาจาและกาลทานที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอนคณะสงฆ์วัดหนึ่งๆสามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปีจึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านานโดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปีในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไปแต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทนเช่นเงินหรือวัตถุสิ่งของเพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกันกฐินมีกำหนดระยะเวลาถวายจะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ระยะเวลานั้นมีเพียง๑เดือนคือตั้งแต่วันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ไปจนถึงวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๒หรือวันเพ็ญเดือน๑๒ระยะเวลานี้เรียกว่ากฐินกาลคือระยะเวลาทอดกฐินหรือเทศกาลทอดกฐิน
กฐิน
กฐิน
กฐิน
กฐิน
จำพรรษาครบ
กถามรรคแปลว่าทางแห่งกถาลาดเลาแห่งกถาแนวทางแห่งคำพูดได้แก่เค้าโครงแห่งเรื่องที่แต่งหรือที่เทศน์มีความหมายว่าเค้าโครงหรือโครงสร้างของเรื่องที่ผู้แต่งหรือผู้เทศน์กำหนดขึ้นตามอัตโนมัติโดยกำหนดว่าจะแต่งไปทำนองไหนจะเดินเรื่องอย่างไรจะแสดงเรื่องใดก่อนหลังและจะขยายความกว้างแคบอย่างไรเป็นต้นกถามรรคเป็นคำที่นิยมใช้ในสำนวนเทศนาสมัยเก่าเช่นการอธิบายข้อธรรมนี้ไม่อาจให้พิสดารได้ด้วยกถามรรคโดยย่อและการเวลาเท่านี้เป็นต้น
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กถามรรค
กถามรรค
กถามรรค
กถามรรค
เค้าโครง
กถาวัตถุเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎกแถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลายสมัยสังคายนาครั้งที่สามกถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออกเพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น๒ส่วนคือกถาวัตถุบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าและที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคยนาครั้งที่สามกถาวัตถุส่วนที่บริสุทธินั้นมีลักษณะไม่ใช่แบบโฆษณาชวนเชื่อใดๆเพราะเป็นหลักตรรกะศาสตร์ล้วนมีลักษณะตรัสบอกเรื่องกลไกของภาษาเช่นเท็จในจริงมาวางก็จะได้เท็จในจริงจริงในเท็จเท็จในเท็จจริงในจริงถ้าเราใส่ของเท็จของจริงใส่หลังเท็จหลังจริงเป็นต้นจึงไม่มีลักษณะโน้มน้าวใดๆเลยแม้แต่เรื่องของเหตุผล
กถาวัตถุ
กถาวัตถุ
กถาวัตถุ
กถาวัตถุ
กบิลพัสดุ์เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะเป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ๒๙ปีปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดียยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐานและไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัดเป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกันกบิลพัสดุ์แปลตามศัพท์ว่าที่อยู่ของกบิลดาบสเพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อกบิลพวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส
โดยในปีพุทธศักราช๒๔๔๒นักโบราณคดีได้แกะรอยแนวที่ตั้งของเสาพระเจ้าอโศกและตำนานการสร้างเมืองมาจนพบกับเมืองโบราณร้างชื่อติเลาราโกตอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับกรุงกบิลพัสดุ์ตามที่ระบุในเอกสารหลายฉบับอยู่ทางใต้ของเชิงเขาหิมาลัย๑๖กิโลเมตรสวนลุมพินีวันห่างออกไป๓๕กิโลเมตรทางตะวันออกทางตะวันตกมีลำน้ำสาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่านหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดียืนยันว่ามีความเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ก่อนพุทธกาลประมาณ๑๐๐ปีและได้ความเจริญต่อเนื่องมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่๗ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไปปัจจุบันเมืองโบราณติเลาราโกตแห่งนี้รวมทั้งลุมพินีวันได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้นับเป็นมรดกโลกที่อยู่ในประเทศเนปาล
กบิลพัสดุ์
เมืองกบิลพัสดุ์เมืองที่เจ้าชายเจ้าชายสิทธัตถะทรงเติบโต
กบิลพัสดุ์
เมืองกบิลพัสดุ์
กรรมฐานหมายถึงที่ตั้งแห่งการทำงานของจิตสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิตหรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิกรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย
กรรมฐาน
กรรมฐาน
กรรมฐาน
กรรมฐาน
จิตสงบ
กสิณ๑๐แปลว่าวัตถุอันจูงใจหรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิเป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วยโดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่งมี๑๐อย่างคือภูตกสิณ๔หรือกสิณคือมหาภูตรูปได้แก่ปฐวีกสิณอาโปกสิณเตโชกสิณวาโยกสิณวรรณกสิณ๔ได้แก่นีลกสิณปีตกสิณโลหิตกสิณโอทาตกสิณกสิณอื่นๆได้แก่อาโลกกสิณอากาสกสิณอสุภะ๑๐ได้แก่การพิจารณาซากศพระยะต่างๆรวมกัน๑๐ระยะตั้งแต่ศพเริ่มขึ้นอืดไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูกอนุสติ๑๐คืออารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆได้แก่พุทธานุสติธัมมานุสติสังฆานุสติสีลานุสติจาคานุสติเทวตานุสติมรณสติกายคตาสติอานาปานสติอุปสมานุสติอัปปมัญญา๔คือธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลายอย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณไม่จำกัดขอบเขตโดยมากเรียกกันว่าพรหมวิหาร๔คือเมตตาคือปรารถนาดีมีไมตรีอยากให้มนุษย์สัตว์ทั้งหลายมีความสุขทั่วหน้ากรุณาคืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์มุฑิตาคือพลอยมีใจแช่มชื่นบานเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุขและเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไปอุเบกขาคือวางจิตเรียบสงบสม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตาชั่งมองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ประกอบไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชังอาหาเรปฏิกูลสัญญากำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหารจตุธาตุววัฏฐานกำหนดพิจารณาธาตุ๔คือพิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ๔แต่ละอย่างๆอรูป๔กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ๙อย่างแรกจนได้จตุตถฌานมาแล้วกรรมฐานแบบอรูปมี๔อย่างคืออากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะ
กรรมฐาน
กรรมฐาน
กรรมฐาน
กรรมฐาน
๑๐
กหาปณะเป็นคำเรียกเงินตราทำด้วยโลหะที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเป็นเงินตราโลหะชนิดแรกของอนุทวีปอินเดียเทียบคำว่ากษาปณ์ในปัจจุบันมีอัตราเทียบเท่ากับ๒๐มาสกหรือ๑ตำลึงหรือ๔บาทไทยมีปรากฏอยู่ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์คือภิกษุจงใจลักทรัพย์ที่มีราคา๕มาสกหรือ๑บาทขึ้นไปต้องอาบัติสูงสุดคือปาราชิกหากมีราคาต่ำกว่านั้นก็มีความผิดลดหลั่นลงมาตามราคาทรัพย์
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กหาปณะ
เงินที่ใช้ในสมัยพุทธกาล
กหาปณะ
กหาปณะ
เงิน
กัปหรือกัลป์มีความหมายหลายทางได้แก่กาลเวลาสมัยอายุกำหนดวัดประมาณเป็นคำบอกถึงช่วงเวลาที่ยาวนานที่ใช้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกค่ะ
ฎีกามาเลยยสูตรแบ่งกัปไว้๔แบบคืออายุกัปคือกำหนดอายุสัตว์สัตว์เกิดมามีอายุเท่าไรเมื่ออายุสิ้นสุดลงเรียก๑กัปโดยในยุคพุทธกาล๑อายุกัปของมนุษย์ประมาณ๑๐๐ปีคือในยุคนั้นมนุษย์มีอายุเฉลี่ย๑๐๐ปีน่ะค่ะเอแล้วทำไมพระพุทธองค์มีพระชนมายุต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกันน้า~ทั้งๆที่พระองค์เป็นสุดยอดของมนุษย์แล้วแท้ๆน่าคิดๆอันตรกัปคือกำหนดอายุสัตว์ระยะเวลาที่อายุขัยของมนุษย์ลงจากอสงไขยปีจนถึง๑๐ปีแล้วขึ้นจาก๑๐ปีจนถึงอสงไขยปีอสงไขยเท่ากับเลข๑ตามด้วยเลขศูนย์๑๔๐ตัวอสงไขยกัปเท่ากับ๖๔อันตรกัปมหากัปเท่ากับ๔อสงไขยกัปอสงไขยเท่ากับ๖๔อันตรกัป
ยังมีกัปในความหมายของอายุของจักรวาลอีกนะคะคือระยะเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปค่ะ
กัป
กัป
กัป
กัป
โลกเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
กัปปิยะหรือกัปปิยภัณฑ์แปลว่าเหมาะสมสมควรค่ะหมายถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณะคือภิกษุสามเณรเป็นสิ่งของที่ภิกษุสามเณรบริโภคใช้สอยได้ไม่ผิดพระวินัยเรียกเต็มว่ากัปปิยภัณฑ์ได้แก่ปัจจัย๔คือผ้าอาหารที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคค่ะ
ส่วนสิ่งของที่ภิกษุสามเณรไม่ควรจะบริโภคใช้สอยหรือบริโภคใช้สอยไม่ได้เช่นเสื้อกางเกงเครื่องประดับเป็นต้นเรียกว่าอกัปปิยะหรืออกัปปิยภัณฑ์ค่ะ
แล้วก็ปัจจัยบางอย่างที่เป็นอกัปปิยะนิยมทำให้เป็นกัปปิยะเสียก่อนจึงถวายพระเช่นผลไม้ที่มีเปลือกหนานิยมปอกหรือใช้มีดใช้เล็บกรีดให้เป็นรอยเสียก่อนทำดังนี้เรียกว่าทำกัปปิยะเรียกผู้ทำกัปปิยะนั้นว่ากัปปิยการก
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กัปปิยะ
กัปปิยะ
กัปปิยะ
กัปปิยะ
กัปปิยโวหารแปลว่าโวหารที่สมควรแก่ภิกษุคำพูดที่สมควรแก่ภิกษุค่ะหมายถึงภาษาและคำพูดที่เหมาะสมแก่ภิกษุเป็นทั้งภาษาและคำพูดที่ชาวบ้านใช้กับภิกษุและที่ภิกษุใช้กับชาวบ้านที่ชาวบ้านใช้กับภิกษุเช่นเรียกเงินตราว่ากัปปิยภัณฑ์เรียกการกินว่าฉันเรียกการนอนว่าจำวัดเรียกการป่วยว่าอาพาธเรียกภิกษว่าพระคุณเจ้าเป็นต้นและหมายถึงภาษาหรือคำพูดที่ภิกษุใช้โดยเฉพาะเช่นภิกษุเรียกตัวเองว่าอาตมาหรืออาตมภาพเรียกชาวบ้านว่าโยมเป็นต้น
กัปปิยโวหารเป็นถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะหากใช้ได้ถูกต้องก็เป็นที่นิยมยกย่องว่าเป็นผู้ฉลาดรู้กาลเทศะดี
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กัปปิยโวหาร
กัปปิยโวหาร
กัปปิยโวหาร
กัปปิยโวหาร
กัมมสัทธาเชื่อกรรมเชื่อกฎแห่งกรรมเชื่อว่ากรรมมีอยู่จริงคือเชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนาคือจงใจทำทั้งรู้ย่อมเป็นกรรมคือเป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตนเป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไปการกระทำไม่ว่างเปล่าและเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำมิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชคเป็นต้นค่า~กัมมสัทธา
กัมมสัทธา
กัมมสัทธา
กัมมัสสกตาสัทธาเชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของจะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตนกัมมัสสกตาสัทธา
กัมมัสสกตาสัทธา
กัมมัสสกตาสัทธา
กัลปนาอ่านว่ากันละปะนาแปลว่าเจาะจงให้เป็นคำศัพท์ภาษาบาลีนำมาใช้ในภาษาไทยในปริบททางพุทธศาสนาค่ะ
กัลปนาใช้ในความหมาย๒อย่างคือหมายถึงส่วนบุญที่ผู้ทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตายเรียกว่าอุทิศกัลปนาไปให้อีกอย่างหนึ่งหมายถึงที่ดินที่เจ้าของถวายเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้นให้แก่วัดกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของเจ้าของเช่นนาสวนมะพร้าวที่ดินมีตึกแถวเรียกชื่อเต็มว่าที่กัลปนาค่ะ
"ข้าพเจ้าขออุทิศกัลปนานี้ไปให้บิดาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย"อย่างนี้เป็นความหมายแรกนะคะ
"ปีนี้ที่กัลปนาของวัดเราได้ผลตอบแทนไม่มากเพราะฝนแล้ง"ส่วนอย่างนี้เป็นความหมายหลังค่ะ
กัลปนา
กัลปนา
กัลปนา
กัลปนา
กัลยาณธรรมตามรูปศัพท์แปลว่าธรรมอันดีธรรมอันงามหมายถึงคุณธรรมที่ดีงามธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติของกัลยาณชนธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นกัลยาณชนผู้ประพฤติกัลยาณธรรมเป็นปกตินอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณชนแล้วชีวิตของผู้นั้นย่อมสงบสุขไม่มีเวรภัยไม่มีศัตรูค่ะ
กัลยาณธรรมโดยตรงคือ
๑เว้นจากฆ่าสัตว์๒เว้นจากลักทรัพย์๓เว้นจากพูดเท็จ๔เว้นจากดื่มสุราเมรัยและ๕ประพฤติพรหมจรรย์คือเว้นจากเมถุนธรรม
โดยอ้อมได้แก่เบญจศีลเบญจธรรม
กัลยาณธรรมเป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นของมนุษย์ที่ทำให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่นบางครั้งจึงเรียกกัลยาณธรรมว่ามนุษยธรรม
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กัลยาณธรรม
กัลยาณธรรม
กัลยาณธรรม
กัลยาณธรรม
กามราคะหมายถึงอาการที่จิตยินดีเพลิดเพลินในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสซึ่งเรียกว่ากามคุณจนหลงใหลไม่ปล่อยวางง่ายและหมายถึงอาการที่จิตยินดีเพลิดเพลินในกามคุณเช่นนั้นด้วยอำนาจกิเลสกามมีกิเลสกามเป็นเหตุให้ทำนำให้มีความยินดีเพลิดเพลินเช่นยินดีเพลิดเพลินในในรูปและเสียงด้วยความอยากค่ะ
แต่โดยปกติใช้อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ผู้คนหมกมุ่นหลงใหลยินดีติดอยู่ในเรื่องโลกีย์วิสัยของมนุษย์นะคะเช่นใช้ว่า
"ด้วยอำนาจกามราคะอย่างเดียวจึงทำให้เขาทิ้งลูกทิ้งเมียไปหาหญิงอื่น"
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กามราคะ
กลกามแห่งความรัก
กามราคะ
กามราคะ
กามราคะอ่านได้๒อย่างกามะและกามมะแปลว่าความกำหนัดในกามความใคร่ในกามความกำหนัดยินดีด้วยอำนาจกามใช้ว่ากามราคกามะรากก็มี
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กามราคะ
กลกามแห่งความรัก
กามราคะ
กามราคะ
กามสุขัลลิกานุโยคคือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลายเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชนไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์กามสุขัลลิกานุโยค
กามสุขัลลิกานุโยค
กามสุขัลลิกานุโยค
กายกรรมอ่านว่ากายยะกำในคำวัดหมายถึงการกระทำทางกายคือทำกรรมด้วยกายไม่ว่าจะทำกรรมชั่วหรือกรรมดีจัดเป็นกายกรรมเหมือนกันค่ะ
กายกรรมทางชั่วมี๓อย่างคือฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากายทุจริตแปลว่าประพฤติชั่วทางกาย
ส่วนกายกรรมทางดีมี๓อย่างเช่นกันค่ะคือไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์ไม่ประพฤติผิดในกามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากายสุจริตแปลว่าประพฤติชอบทางกาย
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กายกรรม_(ศาสนาพุทธ)
กายกรรม
กายกรรม
กายกรรม
กรรมด้วยกาย
กายทุจริตอ่านว่ากายะแปลว่าการประพฤติชั่วทางกายการประพฤติชั่วด้วยกาย
กายทุจริตเป็นการทำความชั่วทำความผิดทางกายคือด้วยการกระทำของกายจัดเป็นบาปมิใช่บุญก่อทุกข์โทษให้ทั้งในปัจจุบันและภพชาติต่อไปค่ะ
กายทุจริตมี๓อย่างคือ
๑ฆ่าสัตว์คือการทำให้สัตว์สิ้นชีวิตรวมถึงการทรมานจองจำกักขังสัตว์ให้เดือดร้อน๒ลักทรัพย์คือการขโมยหยิบฉวยรวมถึงการเบียดบังฉ้อโกงทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนเป็นต้น๓ประพฤติผิดในกามคือการล่วงละเมิดคู่ครองของผู้อื่นการมีเพศสัมพันธ์กับคนต้องห้าม
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กายทุจริต
กายทุจริต
กายทุจริต
กายทุจริต
กายมี๓อย่างค่ะคือ
๑สรีรกายกายที่เกิดจากอุตุนิยามหรือรูปธาตุคือดินน้ำลมไฟได้แก่กายของมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน๒ทิพยกายกายที่เกิดจากกรรมนิยามหรือนามธาตุคือกิเลสกรรมวิบากได้แก่กายของโอปะปาติกะทั้งหลายเช่นพรหมเทพวิญญาณอสุรกายเปรตและสัตว์นรก๓นามกายหรือกายที่เกิดจากธรรมนิยามหรือธรรมธาตุคืออนิจจังทุกขังอนัตตาได้แก่จิตและเจตสิก
"กายในคำว่ากาโยมี๒คือนามกาย๑รูปกาย๑นามกายเป็นไฉนเวทนาสัญญาเจตนาผัสสะมนสิการเป็นนามด้วยเป็นนามกายด้วยและท่านกล่าวจิตสังขารว่านี้เป็นนามกายรูปกายเป็นไฉนมหาภูตรูป๔รูปที่อาศัยมหาภูตรูป๔ลมอัสสาสะปัสสาสะนิมิตรและท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกันนี้เป็นรูปกายฯ"
กาย
กายมีอะไรบ้าง
กาย
กาย
๓อย่าง
กายวิญญาณความรู้อารมณ์ทางกายคือรู้โผฏฐัพพะด้วยกายหรือการรู้สึกกายสัมผัสค่ะกายวิญญาณ
กายวิญญาณ
กายวิญญาณ
กายิกสุขอ่านว่ากายิกะสุกแปลว่าสุขทางกายสุขที่เป็นไปในกายหมายถึงความสบายกายความอิ่มเอิบซาบซ่านแห่งกายกายิกสุขเกิดจากการที่กายสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกที่ดีแล้วเกิดความรู้สึกทางกายว่าสบายอิ่มเอิบเป็นต้นเช่นตาได้เห็นคนหรือสิ่งที่ตนชอบทำให้เกิดความรู้สึกซาบซ่านลิ้นได้ลิ้มรสอาหารที่อร่อยทำให้เกิดความอิ่มหายหิวกายได้สัมผัสกับน้ำทำให้กายเย็นสบาย
กายิกสุขเป็นคู่กับเจตสิกสุขหรือสุขทางใจอันเกิดจากการที่ใจได้สัมผัสกับอารมณ์ที่ดีภายนอกแล้วเกิดความสบายใจเช่นดีใจชอบใจค่ะ
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กายิกสุข
กายิกสุข
กายิกสุข
กายิกสุข
การกสงฆ์อ่านว่าการกสงฆ์หรือจะการะกะสงฆ์ก็ได้ค่ะแปลว่าสงฆ์ผู้ทำกิจหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญใช้เรียกสงฆ์หมู่หนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นประโยชน์แก่หมู่คณะหรือแก่พระศาสนาได้แก่กิจการที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อรักษาพระธรรมวินัยเพื่อชำระอธิกรณ์เป็นต้น
การกสงฆ์ได้แก่สงฆ์ที่ร่วมกันทำสังคายนาหรือทำสังฆกรรมต่างๆซึ่งเรียกว่าสังคีติการกสงฆ์กัมมการกสงฆ์ตามลำดับค่ะ
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
การกสงฆ์
การกสงฆ์
การกสงฆ์
การกสงฆ์
๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ